วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

PART1 โครงสร้างและระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์

PART1 โครงสร้างและระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
Chapter1ความหมายของคอมพิวเตอร์
ความหมายของคอมพิวเตอร์นั้นหากแปลตามคำศัพท์ภาษาอังกฤษหมายถึงเครื่องคำนวณที่เป็นเครื่องไฟฟ้า
หรือกลไกก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น
        พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525ให้ความหมายว่าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่เหมือนสมองกลใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆทั้งที่ง่ายละซับซ้อนด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์หมายถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการคำนวณผลในรูปแบบหนึ่งๆได้อย่างรวดเร็วและให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและเชื่อถือได้คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความสามารถในการแปลภาษา และประมวลผลคำสั่งโปรแกรมในการรับรู้ข้อมูลเข้าไปในเครื่อง,คำนวณทางคณิตศาสตร์และ ตรรกวิทยา, แสดงผลลัพธ์ (สุมนาเกษมสวัสดิ์และคณะ, 2541)คอมพิวเตอร์หมายถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูล ประมวลผล สื่อสารเคลื่อนย้ายข้อมูลและแสดงผลลัพธ์ได้(ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล,2545) ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงหมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถป้อนข้อมูลเข้า ทำการแปลภาษา ประมวลผลข้อมูล และแสดงผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็วโดยอาศัยวิธีการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ตรรกวิทยา สามารถเชื่อถือได้
Chapter2 คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติที่สำคัญ 5 ประการดังนี้
1.การทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์(electronicmachine)เนื่องจากคอมพิวเตอร์
   เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส ์   ดังนั้นคอมพิวเตอร์   จึงจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทาง
   อุปกรณ์อื่นๆ เช่น แป้นพิมพ์เป็นต้น ข้อมูลจะถูกแปลงสัญญาณให้เป็นไฟฟ้า เพื่อให้
   คอมพิวเตอร์ ประมวลผล  และเมื่อประมวลผลเสร็จเรียบร้อย ข้อมูลจะถูกแปลงกลับ
   ให้เป็นลักษณะที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้
2.การทำงานด้วยความเร็วสูง(speed)คอมพิวเตอร์เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์จึงทำให้
   สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว คือ มากกว่าพันล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที
3.ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได ้ (accuracyandreliability) คอมพิวเตอร์จะทำงาน
   ตามที่มนุษย์ได้เขียนโปรแกรมไว้      หากเราป้อนข้อมูลที่ถูกต้อง    เราก็จะได้การ
   ประมวลผลที่มีความถูกต้องเช่นกัน
4.การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก(storage)คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่ทำหน้าที่
   เก็บข้อมูลที่บันทึกเข้าไป   แต่ความสามารถในการเก็บข้อมูล  ขึ้นอยู่กับ ขนาดของ
   คอมพิวเตอร์
5.การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล  (communication)  คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน   สามารถ
   เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตได้ เราจึงสามารถเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่อง
   อื่นๆได้แม้ว่าจะอยู่คนละพื้นที่กัน (remote computer)
Chapter3 ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
SubChapter1  หน่วยประมวลผลกลาง (CentralProcessingUnitCPU)
ทำหน้าที่ประมวลผล และควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ประมวลผลโดยมีหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่าง
หน่วยความจำด้วย ซึ่งหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียูนี้จะประกอบไปด้วย
1. หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ควบคุมกลไกของระบบทั้งหมดเช่น ส่วนรับข้อมูล ประมวลผล แสดงผล
    การจัดเก็บข้อมูล โดยจะทำงานประสานกัน กับหน่วยความจำ และ หน่วยคำนวณ และ ตรรกะ หน่วยนี้จึงถือเป็นหัวใจหลักของระบบ
    คอมพิวเตอร์
2. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithematic and Logic Unit:ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณทาง
    คณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร และหน้าที่ในการเปรียบเทียบทางตรรกะของข้อมูลเช่นมากกว่าน้อยกว่าหรือเท่ากับโดยหน่วย
นี้ จะช่วยควบคุมความเร็วในการคำนวณ
Sub-Chapter2 หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รอทำการประมวลผลและเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลในระหว่างที่รอส่งไปยังหน่วยแสดงผลลัพธ์ประเภท
ของหน่วยความจำสามารถแบ่งได้ดังนี้
1. แบ่งตามลักษณะของการเก็บข้อมูล จะแบ่งได้เป็น
     -   หน่วยความจำแบบลบเลือนได้   (Volative Memory)   คือในกรณีที่ไฟฟ้าดับ หรือกำลังไฟฟ้าไม่เพียงพอ   ข้อมูลที่เก็บไว้ก็
         จะหายหมด
     -   หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolative Memory) หน่วยความจำแบบนี้จะเก็บข้อมูลได้โดยไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่เลี้ยงวงจร

2. แบ่งตามสภาพการใช้งาน จะแบ่งได้เป็น
     -   หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว (Read-Only Memory : ROM) หรือ รอม เป็นหน่วยความจำชนิดไม่ลบเลือน คือซีพียูสามารถ
         อ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้
     -  หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (Random Access Memory : RAM) หรือ แรม เป็นหน่วยความจำแบบลบเลือนได้ คือสามารถ
        เขียนหรืออ่านข้อมูลได้ การเขียนหรืออ่านจะเลือกที่ตำแหน่งใดก็ได้
Sub-Chapter3 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
ทำหน้าท ี่รับข้อมูลและโปแกรม เข้าสู่ระบบโดยผ่านทางอุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์
รับเข้า(Input Device) ที่เป็นที่รู้จักและนิยม ได้แก่

   แป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทุกเครื่องจะต้องมีการรับข้อมูล
คือ ผู้ใช้กดแป้นพิมพ ์แล้วจึงแปลงรหัสเข้าสู่การประมวลผลต่อไป เมาส์ (Mouse)
เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวก ในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น  เมาส์จะมีรูปร่าง
พอเหมาะกับมือ และมีลูกกลิ้งอยู่ด้านล่าง โดยระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานสัมพันธ์
กับการเคลื่อนที่ของลูกกลิ้ง และรับคำสั่งจากการกดปุ่มเมาส์

 สแกนเนอร์ (Scanner) จะทำงานโดยการอ่านรูปภาพ แล้วแปรเปลี่ยนให้เป็น
ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถที่จะเข้าใจได้

  แผ่นสัมผัส (Touchpad)  บางครั้งเรียก  trackpad เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมระนาบ
ที่ใช้การเคลื่อนไหวของนิ้วมือเพื่อควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้ตำแหน่ง แผ่นสัมผัส
นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา เช่นเดียวกับ trackball และ trackpoint

  จอยสติก (Joystick) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุม การเคลื่อนที่ของตัวชี้ตำแหน่ง เช่นเดียวกับเมาส์แต่จอยสติกจะมีปุ่มกดเพิ่ม เติมเพื่อสั่งงาน   เฉพาะอย่างขึ้นอยู่กับชนิดของโปรแกรมที่ใช้  จอยสติกนิยมใช้สำหรับเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์  และควบคุมการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ปากกาแสง (LightPen) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สัมผัสจอภาพเพื่อชี้ตำแหน่ง และวาดข้อมูลปากกา   นิยมใช้กับงานด้านการออกแบบอุปกรณ์   เช่น  ไมโครโปรเซสเซอร์และชิ้นส่วนของเครื่อง  จอภาพสัมผัส(Touch Sceen) เป็นจอภาพที่ให้ผู้ใช้งานใช้นิ้วสัมผัสบนจอภาพเพื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ แทนการใช้งานแป้นพิมพ์หรือสั่งงาน ด้วยการคลิกเมาส์ การใช้งานระบบจอภาพสัมผัสผู้ใช้จะต้องสัมผัสจอภาพที่อาจเป็นข้อความตัวเลข หรือสัญลักษณ์แทนตำแหน่ง  จากนั้นโปรแกรมจะทำหน้าที่แปลงเป็นสัญญาณเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์  ไม่นิยมใช้กับงานที่ต้องป้อนข้อมูลจำนวนมาก มักใช้กับงานเฉพาะอย่าง เช่น  การให้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก  ร้านอาหารจานด่วน สถานีบริการน้ำมัน  ตู้เกมตามศูนย์การค้า เป็นต้น
อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง (Sound Input Device)  เช่น  การบันทึกเสียงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์  โดยใช้ไมโครโฟน
( Microphone )   ซึ่งจะเชื่อมต่อกับการด์เสียง   ( Sound Card )    เสียงที่เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์  สามารถที่จะนำมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยใช้โปแกรมจัดการเสียง

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น