วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา

แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา
            ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศในการขจัดข้อจำกัดของกาลเวลา และระยะทาง ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลเกิดได้ในทุกเวลา และทุกสถานที่ ซึ่งจากวิวัฒนาการนี้เองได้ก่อให้เกิดรูปแบบการจัดการศึกษาแบบใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
            เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการนี้ เป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งจัดเป็นระบบการเรียนการสอนทางไกลแบบสองทาง
                เทคโนโลยีโทรประชุมทางไกล (Video Conference) ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ที่ใช้ในการสื่อสารระยะไกล เป็นการผสมผสานของสัญญาณภาพ สัญญาณเสียงและข้อมูลผนวกกับเทคโนโลยีของเครือข่ายและการสื่อสารเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกันแบบ Real-time ระหว่างกลุ่ม 2 กลุ่มหรือมากกว่าซึ่งอยู่ห่างไกลกัน
                โดยสรุปแล้วระบบโทรประชุมทางไกล หมายถึง การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ เป็นบริการที่ให้ทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน โยผู้ใช้ทั้งต้นทางและปลายทางจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย กล้องถ่ายภาพ จอภาพ อุปกรณ์แปลงสัญญาณ และชุดควบคุมการประชุมระหว่างจุดสองสุด จะต้องใช้อุปกรณ์สองชุดเชื่อมต่อกัน ส่วนการประชุมพร้อม ๆ กันนั้นจะต้องใช้อุปกรณ์ Teleconference เท่าจำนวนจุดที่ต้องการประชุมและจะต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมหลายจุด (Multi-Point Control Unit : MCU) ช่วยการตัดภาพระหว่างจุดแต่ละจุด อุปกรณ์นี้สามารถเชื่อมสัญญาณเข้าด้วยกันได้ โดยทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องรับและเครื่องส่งภายในเครื่องเดียวกัน ส่งสัญญาณผ่านเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงหรือผ่านระบบโครงข่าย ISDN
                นอกจากนี้จากการที่ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงาน ชิน ฟันแฟร์ (Shin Fun Fair) ทำให้ได้ทราบถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนยุคใหม่คือ เครือข่ายศูนย์การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม(Distance Learning via Satellite) ดำเนินงานโดย บริษัท ชิน บรอดแบรนด์ อินเตอร์เน็ต (ประเทศไทยจำกัด) นำเสนอเทคโนโลยีล่าสุดของการเรียนการสอนยุคใหม่เป็นครั้งแรกใน ประเทศไทย โดยใช้โครงการเทคโนโลยีบรอดแบรนด์ Ipstar หรือ Internet ความเร็วสูงผ่านดาวเทียม แบบ 2 ทาง (Interactive) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนทั้งภาพ เสียง และข้อมูล โดยเปิดโอกาสให้มีการโต้ตอบระหว่างผู้สอนจากศูนย์ iLearn ในกรุงเทพมหานคร และผู้เรียนที่อยู่ ณ ศูนย์ iLearn ในต่างจังหวัดเสมือนเรียนอยู่ในห้องเดียวกัน
โดยศูนย์การเรียนการสอน I Learn ในจังหวัดต่างๆ ส่งผ่านข้อมูลผ่านทาง IPStar Gatewey แล้วผ่านไปยัง Fiber Opic แล้วส่งต่อไปยังสถานีแม่ข่ายเพื่อออกอากาศหลักสูตรการสอน และการอบรม (แหล่งที่มา www.ilearn.in.th)ยิ่งไปกว่านั้นหากมองในอีกแง่มุมหนึ่งของการศึกษาทางไกลนอกเหนือจากการศึกษาทางไกลผ่านทางเทคโนโลยีโทรประชุมทางไกล (Video Conference) การศึกษาทางไกลผ่านทางดาวเทียม การศึกษาทางไกลผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ ดังที่ได้กล่าวถึงรายละเอียดต่าง ๆ ไว้ในตอนต้นแล้ว การศึกษาทางไกลอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นระบบการเรียนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่นิยมเรียกกันว่า  E-Learning หรือ Electronic Learning ก็เป็นส่วนสำคัญและมีคุณค่ายิ่งต่อการจัดการศึกษาของไทยให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกคน ซึ่งเนื้อหาในส่วนต่อไปจะกล่าวถึงสาระที่สำคัญของ E – Learning ดังต่อไปนี้
                E-Learning หรือ Electronic Learning หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่มี การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์ที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้องค์ความรู้ (knowledge) ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่  (Anywhere-Anytime Learning)  เพื่อให้ระบบการเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น   และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนวิชาที่เรียนนั้น ๆ 
                รูปแบบการเรียนการสอน
1. การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education) เป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประชุมทางไกลชนิดภาพและเสียง รวมถึงเอกสารต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
2. แบบมหาวิทยาลัยออนไลน์ เรียกว่า Online University หรือ Virtual University เป็นระบบการเรียนการสอนที่อยู่บนเครือข่ายในรูปเว็บเพจ มีการสร้างกระดานถาม-ตอบ อิเล็กทรอนิกส์ (Web Board)
3. การเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ตและเว็บเพจ (Online Learning, Internet Web Base Education) เป็นการนำเสนอเนื้อหาและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยเน้นสื่อประสมหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน มีการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ประสานงานกัน ให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าถึงฐานข้อมูลหลายชนิดได้ โดยผู้เรียนต้องควบคุมจังหวะการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็น และเลือกเวลา สถานที่ในการเรียนรู้
                4. โครงข่ายการเรียนการสอนแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning Network : ALN) เป็นการเสียนการสอนที่ต้องการติดตามผลระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การทดสอบบทเรียน เป็นตัวโต้ตอบ
                ลักษณะของการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาสำหรับการเรียนการสอนผ่าน E-Learning ประกอบด้วย
                E-Book การสร้างหนังสือหรือเอกสารในรูปแบบสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ประโยชน์กับระบบการเรียนการสอนบนเครือข่าย
                Virtual Lab การสร้างห้องปฏิบัติการจำลองที่ผู้เรียนสามารถเข้ามาทำการทดลอง การทดลองอาจใช้วิธีการทาง simulation หรืออาจให้นักเรียนทดลองจริงตามคำแนะนำที่ให้
                Video และการกระจายแบบ Real/audio/video เป็นการสร้างเนื้อหาในรูปแบบวีดีโอ หรือบันทึกเป็นเสียงเพื่อเรียกผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                Virtual Classroom เป็นการสร้างห้องเรียนจำลองโดยใช้กระดานข่าวบนอินเตอร์เน็ตกระดานคุยหรือแม้แต่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์การเรียนรู้ผ่านเครือข่าย
                Web base training การสร้างโฮมเพจหรือเว็บเพจเพื่อประโยชน์การเรียนการสอน
                E-library การสร้างห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการบนเครือข่ายได้
                ขณะนี้มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศที่ให้ความสนใจกับ E-Learning ทั้งที่มีการพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ชื่อ http ://www.chulaonline.com และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ภายใต้ชื่อโครงการ http ://www.ru.ac.th/learn โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ระบบ E-Learning มาเสริมประสิทธิภาพให้กับระบบการเรียนทางไกลที่มีอยู่ในปัจจุบัน และในต่างประเทศได้มีการพัฒนา E-Learning มาพอสมควรแล้ว เช่น Australia Department of Education , Training and Youth Affairs ภายใต้ชื่อ http ://www.detya.gov.au/ เช่นกัน
               
                สรุปได้ว่าการเรียนรู้โดยผ่านเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับโลกยุคปัจจุบัน และ หลักของ E-Learning ก็คือ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้น E-Learning จึงเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ช่วยพัฒนาแต่ละประเทศให้สามารถเข้าสู่สังคมยุค IT ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ เพื่อการศึกษาในหลากหลายรูปแบบ E-Learning จึงถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็นการเตรียมความพร้อม ทรัพยากรมนุษย์ ให้พร้อมที่จะเข้าปรับตัวให้ทันต่อโลกยุคไร้พรมแดน และโลกในยุคต่อ ๆ ไปที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำลงชีวิตของสังคมมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

แนวโน้มการศึกษาทางไกล
สำหรับข้อมูลในส่วนของแนวโน้มของการศึกษาทางไกล ก่อนที่จะกล่าวถึงแนวโน้มที่ได้จากการวิเคราะห์ และสังเคราะห์จากข้อมูลที่ผ่านมาในอดีตและในปัจจุบันแล้ว แหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญในอ้างอิง เพื่อให้แนวโน้มที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้านั้นมีความเชื่อถือได้ ผู้ศึกษาจึงต้องกล่าวถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา ที่ยกมาพอสังเขปดังนี้
               
                แนวโน้มของรูปแบบการจัดการศึกษา จะมีลักษณะดังต่อไปนี้ (สุภาณี เส็งศรี, 2543)
                1. จัดการเรียนการสอนตามความพร้อมแบบไม่จำกัดเวลา สถานที่ โดยเน้นปริมาณแต่คำนึงถึงคุณภาพเพื่อมาตรฐานการศึกษา
                2. ปฏิรูปการเรียนรู้โดยมุ่งจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                3. มุ่งพัฒนา จัดหา และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในกระบวนการเรียนการสอนทางไกล เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งวิทยาการอย่างอิสระ
                4. ลดข้อจำกัดทางการศึกษาโดยเฉพาะมุ่งเน้นความเท่าเทียมทางการศึกษาในทุกชุมชนและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งลดปัญหาการขาดผู้สอนซึ่งมีความรู้ความสามารถ
                5. เน้นการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย และรับผิดชอบต่อสังคม
                6. สร้างความร่วมมือระหว่างองค์กร/สถาบันต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนวิชาการทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ

                แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านการบริหารและการจัดการ การศึกษาทางไกลถือได้ว่าเป็นกระบวนการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต จำเป็นต้องมีการจัดระบบการจัดการที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง รัฐควรเน้นในเรื่องการประสานงานและการระดมกำลังทั้งคนและความคิด มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะในปัจจุบันการบริหารและการจัดการยังคงเน้นรูปแบบรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ศูนย์กลางจะเป็นตัวควบคุมและสั่งการไปยังส่วนภูมิภาค ยังไม่มีการกระจายอำนาจที่ดีพอ การประสานงานต่าง ๆ ยังคงเกิดปัญหา อีกทั้งการจัดการศึกษาก็ไม่สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น ดังนั้นรัฐจึงควรมีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นและภูมิภาค ระดมกำลังทั้งคนและความคิดเพื่อนำมาใช้ในการศึกษา มีการใช้ทรัพยากรที่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งการบริหารงานแบบนี้จะทำให้ท้องถิ่นและภูมิภาคได้มีโอกาสและมีบทบาทในการกำหนดทิศทางในการบริหารและการจัดการทางการศึกษา ซึ่งการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นและภูมิภาคจะสร้างผลดีกว่าการบริหารและการจัดการแบบก่อนที่เน้นศูนย์กลางเป็นหลัก

                แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านงบประมาณ ควรจะมีการเพิ่มงบประมาณในการผลิตวิจัย พัฒนาสื่อและบุคลากร การติดตามผลและการประเมินผล ควรมีการตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบในการจัดสรรงบประมาณ งบประมาณของการศึกษาทางไกลในอนาคตน่าจะได้รับงบประมาณมาจากภาครัฐและภาคเอกชน จึงควรมีการจัดสรรงบประมาณให้มีความเหมาะสม ถูกต้องและยุติธรรมเพื่อที่จะสามารถนำงบประมาณเหล่านั้น ไปพัฒนาการศึกษาทางไกลให้มีความเหมาะสมและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

                แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านประเภทของสื่อ
                สื่อคอมพิวเตอร์ ระบบ Internet ดาวเทียม และโทรทัศน์ น่าจะเป็นสื่อที่ใช้ในการศึกษาทางไกลมากที่สุด ซึ่งสื่อเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทแทนที่สื่อเก่า ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น
                ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปมาก สื่อในการศึกษาทางไกลจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย ซึ่งสื่อประเภทคอมพิวเตอร์และระบบ Imternet ระบบดาวเทียมและโทรทัศน์ ถือได้ว่าเป็นสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่ เป็นสื่อประสม ซึ่งทำให้ผู้สอนกับผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ มีการโต้ตอบกันได้ และมีผลย้อนกลับ (Feed Back) ผู้เรียนเกิดความสนใจและอยากที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา อีกทั้งในระหว่างการเรียนการสอน ผู้เรียนถ้าเกิดไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาของวิชา ก็สามารถที่จะสอบถามกับผู้สอนได้ทันที แต่สื่อในลักษณะนี้ยังมีราคาที่ค่อนข้างสูง และยังมีไม่แพร่หลายมากนัก ดังนั้น สื่อการศึกษาทางไกลควรจะเน้นให้มีการสื่อสารในลักษณะที่เป็นผลย้อนกลับ ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เพราะความแตกต่างของระดับการเรียนรู้ของผู้เรียนจะเห็นได้ว่า คนเราสามารถจำในสิ่งที่ตนอ่านได้เพียงร้อยละ 10 จำในสิ่งที่ได้ยินร้อยละ 20 จำในสิ่งที่ได้เห็นร้อยละ 30 จำในสิ่งที่ได้ยินและได้เห็นร้อยละ 50 จำในสิ่งที่พูดร้อยละ 70 จำในสิ่งที่พูดและปฏิบัติร้อยละ 90 (Raudsepp 1979 อ้างถึงใน น้ำทิพย์ สุนทรนันทา 2534) ซึ่งแสดงว่า สื่อที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนถ้าเป็นสื่อที่ให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้ ยิ่งปฏิบัติได้มากเท่าใดก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า สื่อการสอนแบบเก่าที่เป็นแบบสื่อทางเดียว จะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพต่ำ และสื่อสมัยใหม่ที่เป็นลักษณะสองทางจะทำให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้มากกว่า
                แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านบุคลากร ในการศึกษาทางไกล จำเป็นต้องมีบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการศึกษาทางไกล ซึ่งได้แก่
                นักเทคโนโลยี
                นักเทคโนโลยีถือได้ว่ามีบทบาทอย่างมากในการจัดการศึกษาทางไกล เพราะนักเทคโนโลยีจะอยู่ในฐานะ ผู้ผลิต ผู้พัฒนา ผู้ใช้และผู้ให้บริการ
                การศึกษาในปัจจุบันและในอนาคต จะเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีโอกาสได้เรียน รัฐก็ให้ความสำคัญกับการศึกษา เพราะ คนเราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต นักเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาทางไกล และจะมีบทบาทสำคัญมากในอนาคต เพราะ นักเทคโนโลยีอยู่ในฐานะ ผู้ผลิต สื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนทางไกล ต้องมีการผลิตสื่อที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียน สื่อการเรียนการสอนที่ดีเรียนแล้วเกิดประสิทธิภาพในการเรียนมากยิ่งขึ้น การเรียนก็จะประสบความสำเร็จ ดังนั้นนักเทคโนโลยีต้องมีการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางการศึกษา เรื่องเทคโนโลยี เพื่อนำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาสร้าง พัฒนาและปรับปรุง สื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เมื่อผู้เรียนนำไปใช้ในการศึกษาแล้วทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 หมวด 9 มาตรา 63 นั้น นักเทคโนโลยีการศึกษาอาจถือได้ว่าเป็น ผู้ใช้ เพราะรัฐได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมตามความจำเป็น ดังนั้นนักเทคโนโลยีการศึกษา จึงสามารถที่จะใช้คลื่นความถี่ สื่อตัวนำ หรือโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม หรือสื่ออื่น ๆ เพื่อนำสื่อต่าง ๆ เหล่านี้มาใช้ในการศึกษาทางไกล เพื่อให้การศึกษาทางไกลเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การศึกษาทางไกลจะเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษา ให้ผู้เรียนที่อยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย ได้มีโอกาสที่จะได้รับการศึกษา อีกทั้งยังสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนอาจารย์หรือครูผู้สอนได้อีกด้วย การเรียนการสอนทางไกลทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา เป็นการกระจายการศึกษาไปสู่ทุกภูมิภาคของประเทศโดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ห่างไกล เป็นการศึกษาตลอดชีวิต บุคคลทั่วไปที่สนใจสามารถเรียนรู้ได้ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นการพัฒนาคุณภาพประชากรของประเทศได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งการเรียนการสอนทางไกลยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้สอนหรือครูที่จะต้องเดินทางไปสอน และของผู้เรียนหรือนักเรียนที่จะต้องเดินทางมาเรียนได้อีกทางหนึ่ง แต่เมื่อรัฐได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่แล้ว ก้ต้องมีมาตรการที่คอยระวังไม่ให้พวกที่ทุจริต นำเอาสื่อต่าง ๆ ไปใช้ในทางที่ผิดหรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง เจตนาที่ดีของรัฐอาจจะกลายเป็นเครื่องมือของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มได้ และในอนาคตเทคโนโลยีต้องมีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น นักเทคโนโลยีต้องมีการติดตามข่าวสารและเรียนรู้เทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลาเพื่อที่จะสามารถทำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านั้นมาใช้ในการศึกษาทางไกลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป
                สังคมในปัจจุบัน ได้กลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ การจัดการฝึกอบรม ก็ถือได้ว่า เป็นหน้าที่ของนักเทคโนโลยีเพราะนักเทคโนโลยีจะอยู่ในฐานะ ผู้ให้บริการ เพราะในการศึกษาทางไกล จำเป็นต้องมีการจัดการฝึกอบรมให้กับผู้สอน เพราะผู้สอนจำเป็นต้องมีการเรียนรู้เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอน เช่น การเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น เมื่อผู้สอนได้รับการฝึกอบรมไปแล้ว ก็จะสามารถรู้วิธีการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในสอน และจะทำให้การเรียนการสอนทางไกลเกิดประสิทธิภาพตามไปด้วย

                ผู้สอนในการศึกษาทางไกล
                ครูหรือผู้สอนทางไกล มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต เพราะการศึกษาทางไกลได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาและกำลังเป็นที่ยอมรับ เช่น การจัดการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ก็ถือได้ว่าเป็นการจัดการศึกษาทางไกลและเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไปและในอนาคตจะมีการขาย พัฒนา การศึกษาทางไกลมากขึ้นไปอีก ดังนั้นครูหรือผู้สอนจึงนับความมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการศึกษาไกล ต้องมีการเตรียมการเรียนการสอนที่ดีเพื่อที่จะสามารถสอนผู้สอนให้มีความเข้าใจในบทเรียนนั้น ๆ และยังต้องมีการศึกษาและติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอเพื่อที่จะสามารถนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงและนำมาใช้พัฒนาการศึกษาทางไกลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งแนวโน้มของระบบอินเตอร์เน็ตกำลังเข้ามามีบทบาทในการศึกษาทางไกลเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการสืบค้าหาข้อมูลที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว มีความสะดวกสบายในการใช้งาน หรือจะใช้ E-Mail เป็นเครื่องมือในการติดต่อระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนได้ ครูหรือผู้สอนอาจใช้ประโยชน์จากระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการศึกษาทางไกล อาจจะเป็นการสร้าง Homepage ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน ถ้าหากผู้เรียนเกิดความไม่เข้าใจในการเรียนการสอน ผู้เรียนสามารถเข้ามาศึกษาเนื้อหาวิชาที่เรียนไปได้ตลอดเวลา หรืออาจจะมีการสอบถามเรื่องที่ไม่เข้าใจกับผู้สอนได้โดยทาง E-Mail หรือทาง Web-Board จะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาวิชาที่เรียนมากยิ่งขึ้น
                ในอนาคตระบบอินเตอร์เน็ตจะมีบทบาทในการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก เทคโนโลยีจะมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น การติดต่อสื่อสารสามารถทำได้ง่าย ปัจจุบันผู้สอนสามารถสอนหนังสือผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตซึ่งก็คือ การศึกษาทางไกล ทำให้เป็นการกระจายความรู้ไปสู่ชนบท ภูมีภาคต่าง ๆ ให้มีความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ไม่ใช่มีการกระจุกตัวอยู่แต่ในส่วนกลาง จากความคิดของพ่อแม่ที่ว่า ถ้าอยากให้ลูกเรียนหนังสือเก่ง ๆ ต้องส่งเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ความคิดเหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนไป เพราะการศึกษาทางไกลจะทำให้ทุกคนสามารถเรียนได้เท่าเทียมกันทั้งหมด แต่การที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีหรือไม่ดีนั้น ต้องขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเองว่าให้ความสนใจกับการศึกษามากน้อยแค่ไหน
การสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันก็ถือได้ว่าดีในระดับหนึ่ง อาจจะมีการล่าช้าหรือกระตุกบ้างเป็นบางครั้งเพราะอาจเกิดจากการรีเลย์ของระบบ แต่ในอนาคตระบบอินเตอร์เน็ตคงได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปอีก อาจทำให้การส่งข้อมูลข่าวสารทำได้อย่างรวดเร็ว ฉับไว ไม่เกิดการผิดพลาดก็เป็นได้ ทำให้การศึกษาทางไกลมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น
                อีกทั้งรัฐก็มีการสนับสนุนการศึกษามากยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้จากการออก พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และในอนาคตรัฐคงมีการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น เพราะการศึกษาถือได้ว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะทำให้คนมีความรู้ และถ้าคนเรามีความรู้ก็จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต และประเทศชาติต่อไปในอนาคต

แนวโน้มการใช้งาน Web-Based Instruction
                ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการนำระบบอินเทอร์เน็ตมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน เช่น การนำมาใช้ในการเรียนทางไกล การใช้เป็นการเรียนเสริมหรือการศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งจากกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.. 2544-2553 ประเทศไทย ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (E-education) ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยี โดยมุ่งแน้นการสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรศึกษาที่มีประสิทธิภาพเอื้อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ เนื้อหา และความรู้ สถาบันการศึกษาจึงต้องจัดโอกาสและสภาพแวดล้อมให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปตามแนวทางตามความถนัดของตน ส่งเสริมสมรรถภาพให้ผู้เรียนมีความรู้ความคิดและทักษะใหม่เพิ่มมากขึ้นจัดการเรียนการสอนให้หลากหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองวิธีเรียนของผู้เรียนที่แตกต่าง
                ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ ทั้งในระบบ นอกระบบ และการเรียนรู้ตามอัธยาศัย โดยการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันแหล่งความรู้ถูกจำกัด ทั้งที่แหล่งความรู้มีมากมาย การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันถูกจำกัดเฉพาะในห้องเรียนและอยู่ภายใต้การควบคุมกำกับของผู้สอนเท่านั้น ทั้งที่ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคลมีความรู้ความเข้าใจประสบการณ์และการมองโลกแตกต่างกันออกไป รวมถึงรูปแบบการจัดชั้นเรียนในปัจจุบันไม่สามารถที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ ดังนั้นการเตรียมคนเพื่อให้เข้าไปรองรับกับระบบงานใหม่ในอนาคต เทคโนโลยีจึงเป็นพื้นฐานสำคัญ การเรียนการสอนไม่ควรยึดติดกับวิธีเดิม ในขณะที่สิ่งใหม่หรือสิ่งที่กำลังพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว แหล่งความรู้ไม่ได้อยู่ที่สถานศึกษาอย่างเดียว
                การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web Based Instruction-WBI) จึงตอบสนองการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเป็นการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนที่ประยุกต์คุณลักษณะของอินเทอร์เน็ต โดยนำทรัพยากรที่มีอยู่ในเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) มาเป็นสื่อกลางเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ในรูแปบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง เอกสารประกอบการเรียนบทเรียนสำเร็จรูป หรือแม้กระทั่งหลักสูตรวิชา เนื่องจาก เวิลด์ไวด์เว็บเป็นบริการบนอินเทอร์เน็ตที่มีแหล่งข้อมูลอยู่มากมายและหลายรูปแบบ ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง การเคลื่อนไหวหรือเสียง โดยอาศัยคุณลักษณะของการเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) ทั้งในรูปแบบของข้อความหลายมิติ (Hypertext) หรือสื่อหลายมิติ (Hypermedia) เพื่อเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน และเป็นการนำประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าข้อมูลในการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นการสนองตอบแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นหลัก นั่นคือมิใช่การสอนที่เป็นการถ่ายทอดความรู้จากครูผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายและเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ โดยใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ ซึ่งสื่อต่าง ๆ เหล่านี้สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรุ้และแก้ปัญหาได้อย่างอิสระ เพราะข้อมูลบนเว็บมีลักษณะเป็นพลวัตร (Dynamic) ทำให้เนื้อหาการเรียนมีความยืดหยุ่นมากกว่าแบบเดิม และเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญและเปิดโอกาสให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรให้ทันสมัยได้อย่างสะดวกสบาย
แนวโน้มของการฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-Based Training)

                อินเทอร์เน็ตกับการฝึกอบรมเป็นความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่มีบทบาทอย่างยิ่งต่อรูปแบบการเรียนรู้ในสังคมยุคใหม่ ซึ่งเป็นยุคที่เป็นโลกของดิจิตอลที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ทุกหน่วยงานต้องการคนที่มีความรู้ ความสามารถ ที่สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่ได้รับให้เป็นความรู้ที่เอื้อประโยชน์ต่อหน่วยงานและสังคมได้ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ย่อมมีผลอย่างยิ่งต่อการจัดการศึกษาที่จะต้องผลิตบุคคลให้มีการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องอยู่ตลอด เวลาเพื่อให้อยู่ในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข ปรับตัวได้ทันต่อสภาวการณ์รอบตัวได้ รวมทั้งสามารถพัฒนาหน่วยงาน และสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งในปัจจุบันได้มีการจัดการฝึกอบรมในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องของการฝึกอบรมผ่านเว็บ ซึ่งแนวโน้มจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
                การฝึกอบรมผ่านเว็บ เป็นการฝึกอบรมกิจกรรม องค์ความรู้ และวิชาการต่าง ๆ ตามจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนผ่านทางเวิล์ดไวด์เว็บ ซึ่งผู้เรียนเป็นผู้กำหนด และเลือกการเรียนด้วยตนเองโดยมีวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ชี้แนะ ให้คำปรึกษา สนับสนุน อำนวยความสะดวก ทางด้านแหล่งข้อมูล วิธีการศึกษา และประเด็นในการเรียนรู้ ด้วยการใช้องค์ประกอบและคุณลักษณะและทรัพยากรบนเว็บมาช่วยในการเรียนรู้

รูปแบบของเว็บเพื่อการฝึกอบรม
                การใช้เว็บในการฝึกอบรมก็ต้องคำนึงถึงคุณลักษณะของเว็บเป็นสำคัญเมื่อการอบรมนั้นไม่จำเป็นต้องเดินทางไปอบรมในห้องฝึกอบรม แต่เป็นการฝึกอบรมโดยการสื่อสารทางไกล จะทำอย่างไรให้การฝึกอบรมผ่านเว็บมีคุณภาพและประสิทธิภาพเท่าเทียม หรือดีกว่าการฝึกอบรมในห้องฝึกอบรมอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต ปรัชญนันท์ นิลสุข (2542) ได้กำหนดกรอบคิดหลักของการฝึกอบรมผ่านเว็บ (WBT) ดังรูปที่ 1 ซึ่งจะต้องคำนึงถึงแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
1. การฝึกอบรมผ่านเว็บ ในด้านการให้การศึกษา นั่นคือ การฝึกอบรมผ่านเว็บ จะอยู่ในกรอบ 3 ประการคือ
   1.1 เวิล์ด ไวด์ เว็บ (World Wild Web) การฝึกอบรมผ่านเว็บเป็นส่วนหนึ่งของระบบอินเทอร์เน็ตจึงต้องอยู่ในกรอบของเวิล์ด ไวด์ เว็บ
   1.2 การศึกษาทางไกล (Distance Education) การฝึกอบรมบนเว็บเป็นการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการจัดการศึกษาทางไกล ระบบอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งในกรอบของการศึกษาทางไกล
   1.3 การพัฒนาระบบการสอน (Instructional System Development) การฝึกอบรมบนเว็บอยู่ในกรอบของ WWW เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทางไกล การฝึกอบรมก็ต้องมีการออกแบบและพัฒนาระบบเพื่อให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพจึงต้องอยู่ในกรอบของการพัฒนาระบบการสอน
2. การฝึกอบรมผ่านเว็บในด้านการพัฒนาคน นั่นหมายความว่า การฝึกอบรมผ่านเว็บก็จะอยู่ในกรอบ 3 ประการเช่นกัน คือ
                    2.1 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคนโดยเว็บเป็นการพัฒนาในยุคสังคมสารสนเทศ ซึ่งภายในเว็บซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เป็นฐานข้อมูลใหญ่ที่สุดในโลก การฝึกอบรมผ่านเว็บจึงเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังคมสารสนเทศโดยมี WWW เป็นเครื่องมือจึงอยู่ในขอบเขตเดียวกัน
                    2.2 การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) เป็นการฝึกอบรมที่มุ่งให้ผู้อบรมได้เรียนรู้ตามความสนใจในสภาพของเครือข่ายการเรียนรู้ในทุกที่ทุกเวลา ซึ่งอยู่ในการศึกษาในแบบทางไกลจึงอยู่ในขอบเขตเดียวกัน
                    2.3 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) เนื่องจากการฝึกอบรมเป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เน้น 3 ด้าน คือ การฝึกอบรม การศึกษาและการพัฒนา จึงจัดกรอบนี้ในกลุ่มเดียวกับการพัฒนาระบบการสอนซึ่งไม่อาจแยกจากกันได้


การพัฒนาระบบการสอน
การศึกษาทางไกล
                การศึกษา                                                               WWW


WBI
                การพัฒนามนุษย์                                                      IT
การศึกษาตามอัธยาศัย
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

รูปที่ 1 แบบจำลองแนวคิดการฝึกอบรมผ่านเว็บ (Model of Web-Based Training)

                ดิสโคล (Driscoll, 1997) ได้ศึกษาการนำเว็บมาใช้ในการฝึกอบรม มี 2 รายการ คือ แบบที่เป็นตัวหนังสืออย่างเดียว และแบบมัลติมีเดีย ผลการศึกษาการออกแบบการฝึกอบรมเวิล์ด ไวด์ เว็บ พบว่าแบบตัวหนังสืออย่างเดียว มีเครื่องมือ ได้แก่ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) กระดานข่าว (Bulletin Boards) การถ่ายโอนโปรแกรม และแบบมัลติมีเดีย มี 4 ชนิด คือ การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web Computer Based Training : WBT) การฝึกอบรมในหน่วยงาน (Web Based Employee Performance Support : EPSS) การฝึกอบรมในห้องอบรมที่เหมือนจริงอบรมต่างเวลากัน (Asynchronous Virtual
Classroom) และการอบรมในห้องอบรมที่เหมือนจริงอบรมในเวลาเดียวกัน (Synchronous Virtual Classroom) โดยมีตารางความแตกต่างของการออกแบบในรูปของมัลติมีเดีย 4 ชนิด ดังนี้


ตารางที่ 1 การออกแบบรูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดของดิสโคล

คุณลักษณะ
(Characteristic)
การฝึกอบรมผ่านเว็บ
(Web Computer-Based training : WBT)
การฝึกอบรมในหน่วยงาน (Web-Based Employee Performance Support : EPSS)
การฝึกอบรมในห้องอบรมที่เหมือนจริงต่างเวลากัน (Asynchronous Virtual Classroom)
การฝึกอบรมในห้องอบรมที่เหมือนจริงเวลาเดียวกัน (Synchronous Virtual Classroom)
เป้าหมาย
จัดหาเป้าหมายและวัตถุประสงค์ สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียน
จัดหาการฝึกปฏิบัติและทักษะการแก้ปัญหาในเวลาที่กำหนด
จัดหากลุ่มการเรียนรู้ต่างเวลาต่างสถานที่
จัดหาการร่วมมือในเวลาเรียนเดียวกันต่างสถานที่

ชนิดของการเรียนรู้
มีโครงสร้างการแก้ปัญหาการถ่ายโอน การเรียนรู้สร้างความเข้าใจ การประยุกต์ใช้
มีโครงสร้างการแก้ปัญหา การวิเคราะห์ สังเคราะห์ สัมพันธ์ภาพการจัดการ เครื่องมือต่าง ๆ
มีโครงสร้างการแก้ปัญหานำมาประยุกต์การแก้ปัญหา การวิเคราะห์ สังเคราะห์ การประเมินผลผลิตจากความคิดใหม่ ๆ ที่รวบรวมได้ มีการวางแผนและผลผลิต
มีโครงสร้างปัญหาการวิเคราะห์ความต้องการการประเมินผลข้อมูลมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวคิดใหม่ การวางแผนและผลผลิต
บทบาทของผู้ออกแบบการอบรม
ผู้จัดการอบรม,ผู้ควบคุม,ทำนาย,บอกทิศทาง,ติดต่อผู้เข้ารับการอบรม,แนะนำ
ผู้จัดการด้านเนื้อหาวิเคราะห็,ย่อความ,จัดรายการ,จำแนกข้อมูลลงสู่การเรียนรู้แบบบทเรียน
อำนวยความสะดวกในกลุ่มการเรียนรู้,แนะนำการเรียน,จัดหาทรัพยากร,การประเมินผล,การติดต่อกับผู้เรียน
ร่วมมือกันเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน,มีการเรียนรู้ร่วมกัน,เสนอแนะทิศทางการเรียน แต่ไม่กำหนดทิศทางและประเมินผลลัพธ์
บทบาทผู้เข้ารับการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรมมีความกระตือรือร้นในการฝึกอบรมใหม่ ๆ การติดต่อผู้สอน
ผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้ด้วยตนเองโดยตรงกำหนดระดับของรายละเอียด เนื้อหา มุ่งสู่เป้าหมายการเรียนและผลลัพธ์
ผู้สอนให้คำแนะนำเป็นส่วนตัวหรือเป็นกลุ่มมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและได้รับการป้อนกลับข้อมูล
ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการร่วมมือในการเรียนตามขั้นตอน กับผู้สอนและเพื่อน ๆ มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบกาารณ์


คุณลักษณะ
(Characteristic)
การฝึกอบรมผ่านเว็บ
(Web Computer-Based training : WBT)
การฝึกอบรมในหน่วยงาน (Web-Based Employee Performance Support: EPSS)
การฝึกอบรมในห้องอบรมที่เหมือนจริงต่างเวลากัน (Asynchronous Virtual Classroom)
การฝึกอบรมในห้องอบรมที่เหมือนจริงเวลาเดียวกัน (Synchronous Virtual Classroom)
วิธีการ/
การปฏิสัมพันธ์
การฝึกปฏิบัติการอ่านการถาม การตอบด้วยมัลติมีเดีย ไฮเปอร์เท็กซ์สถานการณ์จำลอง การฝึกหัด การสัมมนา การติดต่อกับผู้สอน
การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การใช้ประสบการณ์การทำโครงการโดยใช้มัลติมีเดีย ไฮเปอร์มีเดีย การสัมมนา การประชุมปรึกษา การเรียนบทเรียนด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน,e-mail กับผู้สอนและเพื่อน ๆ
การเรียนแบบประสบการณ์,การประชุมกลุ่มการทำงานเป็นทีม การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้มัลติมีเดีย ไฮเปอร์เท็กซ์การสัมมนา การประชุมปรึกษาการรับบทเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน e-mail
การอภิปรายกลุ่ม,การแก้ปัญหา,และการปฏิสัมพันธ์สมาชิกโดยใช้การฟังเสียงและดูวีดีโอจากการประชุมของจริง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น


แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1. ทฤษฎีจุดประสงค์นิยม (Objectivist) โดยทฤษฎีแนววัตถุประสงค์ มีปรัชญา การได้รับข้อมูลจากภายนอก เกิดความสามารถตามวัตถุประสงค์ และเป็นผลมาจากการสื่อสารการเรียนรู้จากผู้สอนสู่ผู้เรียน การออกแบบควรเน้นที่การจัดการเนื้อหาโดยผู้เรียนและผู้สอนร่วมกัน เป็นการจัดโอกาสให้กับผู้เรียนในการสังเคราะห์ จัดการและจัดสร้างข้อมูลใหม่ให้เหมือนกับการสร้างสรรค์ และสร้างแหล่งข้อมูลของผู้เรียนขึ้นเอง
                2. ทฤษฎีวิศนุกรรมนิยม (Constructivist) เน้นแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนเป็นผู้เริ่มการเรียนรู้ด้วยตนเอง และแต่ละคนเรียนรู้จากความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่ มุ่งเน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน ที่จะต้องประกอบไปด้วยโครงสร้างและการจัดการการออกแบบโปรแกรมการเรียนที่เหมาะสม การมีส่วนร่วมของผู้เรียนหรือผู้ปฏิบัติที่มีต่อผู้สอนโดยออกแบบให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
                3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) การเรียนแบบร่วมมือ เกิดจากแรงผลักดันสองประการคือ ชีวิตภายนอกห้องเรียน จำเป็นต้องมีกิจกรรมที่ร่วมมือกัน โดยการใช้ทีมงานในการทำงานในชีวิตประจำวัน อีกประการหนึ่งคือ การรู้คุณค่าของปฏิสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายขึ้น โดยที่การเรียนแบบร่วมมือ เน้นการเรียนเป็นกลุ่มเล็ก 4-6 คน สมาชิกในกลุ่มมีความสามารถคละกัน มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ ได้แก่
                   3.1 ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในทางบวก (Positive Interdependent) หมายถึง สมาชิกทุกคนทำงานอย่างมีเป้าหมายร่วมกัน มีส่วนร่วมในการทำงานโดยมีบทบาทต่าง ๆ กัน ในการ
ทำงาน สมาชิกในกลุ่มจะมีความรู้สึกว่าตนจะประสบผลสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จด้วย จึงเน้นความสำเร็จร่วมกัน
                   3.2 การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด (Face to Face Interaction) หมายถึง สมาชิกต้องให้ความสนใจพร้อมที่รับฟัง และเสนอความคิดเห็นต่อกลุ่ม
                   3.3 ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละบุคคล (Individual Accountability) หมายถึงสมาชิกทุกคนในกลุ่มมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการค้นคว้าทำงาน ต้องเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนเหมือนกัน
                   3.4 การใช้ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และทักษะการทำงานกลุ่ม (Interpersonal and Small Group Skills) หมายถึง สมาชิกทุกคนต้องได้รับการฝึกทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่ม เพื่อให้การทำงานของกลุ่มประสบความสำเร็จ
                   3.5 กระบวนการทำงานของกลุ่ม (Group Processes) หมายถึง มีลำดับขั้นตอนในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่มที่วางไว้

                บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ (2540) ได้กล่าวถึงการฝึกอบรมผ่านเว็บมีการนำเอาทฤษฎีวิศนุกรรมนิยม (Constructivism) เป็นทฤษฎีที่ถูกนำมาใช้ในเวิล์ด ไวด์ เว็บ มากในปัจจุบัน โดยการเน้นจุดหลัก 2 ประการ คือ
                1. มีเครื่องมือที่ดีในการสร้างความรู้ (good learning material) คือ มีเครื่องมือที่เด็กสามารถมีการแสวงหาความรู้ได้ เป็นลักษณะของการเรียนแบบตัวต่อตัว (Interactive teaching) ซึ่งแต่ละคนจะมีความสนใจไม่เหมือนกัน มีความถนัด และความเชี่ยวชาญไม่เหมือนกัน เช่น โปรแกรมเลโก้ (Lego Logo) โปรแกรมภาษาจาวา (Java) ในการเขียนข่าว (Electronic Newspaper) โปรแกรมไมโครเวิลด์ (Micro world) ในการสร้างความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น จะเป็นเครื่องมือในการรับรู้และเกิดการคิด (Powerful Learning) เกิดการเรียนรู้ (Learning how to learn)
                2. มีบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่ดีในการเรียนรู้ที่ดี (good learning environment) ผู้เรียนต้องมีทางเลือกหลาย ๆ ทาง มีการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน มีความเป็นกันเองในห้องเรียน และถ้าห้องเรียนมีความหลากหลายมากขึ้น ผู้เรียนก็จะมีความเก่งขึ้น มีการแบ่งปันประสบการณ์กัน




แนวโน้มแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
1.ความหมาย
                แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning resource center) หรือ ศูนย์สื่อการศึกษา (Educational media center) หมายถึง หน่วยงานส่วนกลางที่ให้การสนับสนุนส่งเสริมการจัดสภาพการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดเก็บ การให้บริการ การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้ การให้คำปรึกษา รวมถึงการจัดบริเวณที่เป็นสัดส่วนสำหรับความต้องการในการใช้สื่อบางประเภท (UNESCO, 1987 อ้างถึงใน รัตนาภรณ์ ประวัติวัชรา, 2539)
                ปรัชญาและเป้าหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
                1. เพื่อให้การศึกษา การบ่มเพาะกล่อมเกลา และช่วยพัฒนาการเรียนรู้ให้กับผู้สนใจไม่จำกัดความสามารถหรือพื้นฐานการศึกษาไม่ว่าจะเป็นใครก็สามารถเข้าไปแสวงหาความรู้ได้เท่าเทียมกัน
                2. เพื่อบริการสารสนเทศ ช่วยให้ผู้เข้ามาใช้บริการได้รับข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้องอย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์
                3. เพื่อวัฒนธรรมโดยเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่วัฒนธรรม และเป็นแหล่งส่งเสริมการมีส่วนร่วม และความทราบซึ้งในศิลปวัฒนธรรม
                4. เพื่อพักผ่อนและนันทนาการ แหล่งการเรียนรู้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนและนันทนาการที่ดีที่สุดประการหนึ่งในท้องถิ่น เป็นการช่วยให้ประชาชนได้ใช้เวลาว่างเพื่อการอ่านและแสวงหาความรู้ต่าง ๆ
                ชื่อเรียกต่าง ๆ ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
                แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ที่มีอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาของไทยในปัจจุบันมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปแล้วแต่สถาบัน (ไชยยศ เรืองสุวรรณ,2526 อ้างถึงใน รัตนาภรณ์ ประวัติวัชรา,2539) เช่น ศูนย์วิชาการสำนักวิทยาบริการ ห้องสมุด สำนักเทคโนโลยีการศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ศูนย์แหล่งการเรียน ศูนย์บริการโสตทัศนศึกษา เป็นต้น ซึ่งหากพิจารณาตามนิยายว่าหน่วยงานใดจัดเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ได้นั้น นอกจากจะพิจารณาจากการรวบรวมสื่อหลากหลายประเภทแล้ว ยังจะต้องมีการจัดระบบทรัพยากรการเรียนรู้ที่ดี โดยวางแผนดำเนินการและประเมินผลที่ชัดเจน

2. ตัวอย่างของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
แหล่งการเรียนรู้ภายในโรงเรียน แบ่งเป็น
1. แหล่งการเรียนรู้ในอาคารเรียน ได้แก่ ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดหมวดวิชา ห้องสมุดเคลื่อนที่ ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องศูนย์วิชา ห้องวัฒนธรรมไทย ศูนย์สื่อฯพัฒนาการเรียนการสอน เป็นต้น
2. แหล่งการเรียนรู้นอกอาคาร ได้แก่ สวนสมุนไพร สวนวรรณคดี สวนสุขภาพ สวนธรรม สวนหนังสือ สวนป่า อุทยานวิทยาศาสตร์ ศาลานักอ่าน สวนพฤษศาสตร์ เป็นต้น
3. แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นแหล่งการจัดกิจกรรม แหล่งบริการต่าง ๆ เช่น การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านการจัดกิจกรรมให้ความรู้ เสริมหลักสูตรในรูปของชุมชน เป็นต้น
แหล่งการเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน แบ่งเป็น
¨    แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติทางภูมิศาสตร์ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง ลำธาร น้ำตก ทะเลสาบ ภูเขา ป่า อุทยาน สัตว์ป่า สภาพแวดล้อมรอบตึก เป็นต้น
¨    แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีการดำรงชีวิต เช่น ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำองค์กรท้องถิ่น ผู้นำทางศาสนา นักวิชาการของหน่วยงานราชการ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ เป็นต้น
¨    แหล่งการเรียนรู้ที่สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้แก่
-                   ห้องสมุดประชาชน 801 แห่ง (ห้องสมุดประชาชนจังหวัด 73 แห่ง ห้องสมุดประชาชนอำเภอ 656
แห่ง ห้องสมุด เฉลิมราชกุมารี” 71 แห่ง หอสมุดรัชมังคลาภิเษก 1 แห่ง และห้องสมุดเคลื่อนที่อีกจำนวนหนึ่ง
-                   ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าง 35,289 แห่ง
-                   ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน จำนวนละ 1 แห่ง (ปัจจุบันประมาณ 5,870 แห่ง)
-                   ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาและเครือข่าย 16 แห่ง
-                   ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาและศูนย์ผลิตสื่อประจำภาพ 6 แห่ง
-                   สวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 11 แห่ง
¨    แหล่งการเรียนรู้ที่สังกัดกรมศิลปากร ได้แก่
-                   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และประจำจังหวัด (จดทะเบียนราว 270 แห่ง)
-                   หอสมุดแห่งชาติและจดหมายเหตุ
-                   ศูนย์ศึกษา แหล่ง และอุทยานประวัติศาสตร์
¨    แหล่งการเรียนรู้ที่สังกัดกรมศาสนา ได้แก่วัดและศาสนสถานทั่วประเทศซึ่งมีประมาณ 8,000 แห่ง

3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อทิศทางและแนวโน้มของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
1.             ปัจจัยในระดับนานาชาติ
1.1      พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.2      ความร่วมมือด้านวิชาการในระดับนานาชาติ
2.             ปัจจัยภายในประเทศไทย
2.1      ข้อกำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 หมวด 9 : เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
2.2      นโยบาย หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนสมบูรณ์แบบ
2.3      โครงการคอมพิวเตอ์เอื้ออาทร
2.4      แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.. 2545-2549


4. แนวโน้มของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
                1. ในภาพรวมของประเทศจะมีจำนวนแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น และกระจายไปทั่วทั้งประเทศในเวลาอันรวดเร็ว รวมถึงรูปแบบแหล่งการเรียนรู้ใหม่ ๆ
                ในปัจจุบันนี้สถานที่ที่จัดได้ว่าเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มีอยู่เฉพาะในสถานศึกษาที่มีความพร้อม เนื่องจากการเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ จะต้องประกอบด้วยการรวบรวมสื่อหลากหลายประเภทและต้องมีการจัดระบบทรัพยากรการเรียนรู้ที่ดี โดยวางแผนดำเนินการและประเมินผลที่ชัดเจน ดังนั้นห้องสมุดของโรงเรียนที่มีอยู่จึงมีองค์ประกอบไม่เพียงพอที่จะจัดเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ได้
                ลักษณะของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้น
2. การจัดตั้งแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ เป็นต้น จะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการเอื้อของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 โดยจะมีการสร้างให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีความพร้อมและศักยภาพในการเรียนรู้ อีกทั้งจากโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนสมบูรณ์แบบก็จะส่งผลให้เกิดแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในระดับโรงเรียนกระจายไปทั่วประเทศ
ยกตัวอย่างลักษณะของพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบของแหล่งการเรียนรู้ในอนาคต ได้แก่
·       การมีส่วนร่วมในสังคม เป็นเรื่องของการส่งเสริม และให้บริการ การอำนวย
·       ความสะดวกแก่ผู้เข้าชมทุกประเภท
·       การให้ผู้ชมเข้าถึงความรู้ในวัตถุของที่จัดแสดงให้มากที่สุด
·       พิพิธภัณฑ์ต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) เพื่อให้ผู้ชมเข้าถึง
·       การบริการ
·       การแสดงแบบรายการ (Catalog) และเอกสารสำคัญ ๆ เป็นแบบเชื่อมตรงผ่าน
·       อินเตอร์เน็ต
·       การให้การบริการเสริมแก่ทุกพื้นที่
·       พิพิธภัณฑ์ควรปรึกษาหารือกับกลุ่มคนที่อยู่ในภาวะถูกกีดกันจากสังคมเพื่อรับรู้ปัญหา
·       และจัดการบริการจากสังคมเพื่อรับรู้ปัญหาและจัดการบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของบุคคลเหล่านี้
·       ผลงานจัดแสดงสะท้อนความหลากหลายทางวัฒนธรรม
·       พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ และหอจดหมายเหตุ เป็นสถานที่เรียนรู้ในชุมชน
·       พิพิธภัณฑ์เป็นศูนย์ความร่วมมือขององค์กรต่าง ๆ
2. ห้องสมุดมีชีวิต หรือห้องสมุดธรรมชาติ : สิ่งที่เรียนรู้จากชุมชนมีมากมาย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนต่าง ๆ ในชุมชน ประวัติประเพณี พิธีกรรมของชุมชน แหล่งการเรียนรู้ทางศาสนา วัฒนธรรม งานอาชีพ การประกอบอาชีพในชุมชน ซึ่งอาจจะเปรียบได้กับห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดและเป็นความจริงที่กำลังเกิดขึ้น
3. ลักษณะของทรัพยากรและการให้บริการ จะมุ่งสู่รุปแบบอิเลคทรอนิคส์มากขึ้น และเป็นระบบอัตโนมัติ

                ลักษณะดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีปัจจัยเกื้อหนุนดังต่อไปนี้
1)            การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีความก้าวหน้ามากขึ้น อุปกรณ์ต่าง ๆ ราคาถูกลง ประกอบกับในประเทศไทยมีโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทร ซึ่งส่งผลให้ราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วประเทศตกลงมาอยู่ในวิสัยที่สถานศึกษาในระดับเล็ก ๆ ก็สามารถจัดหามาไว้ใช้งานได้ ซึ่งคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้การให้บริการอิเลคทรอนิกส์เกิดขึ้นได้ และในทางปฏิบัติแล้วไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องราคาแพง ควรเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถเหมาะสมกับลักษณะงานที่ให้บริการมากกว่า
2)            โครงการแบ่งปันข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ในลักษณะต่าง ๆ ทำให้การลงทุนด้านข้อมูลไม่สูงอย่างในอดีต เช่น โครงการ UNINET หรือ Schoolnet ที่มีการซื้อฐานข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ดี ๆ ในลักษณะของ countrt-licensed ทำให้เครือข่ายสามารถให้บริการข้อมูลจากฐานข้อมูลชั้นนำเหล่านี้ได้
3)            ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศ ที่มีเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน รูปแบบความร่วมมือทางวิชาการของประเทศไทยกับต่างประเทศนั้น มีทั้งแบบแลกเปลี่ยนและรับการถ่ายทอดดังนั้นทรัพยากรการเรียนรู้บางส่วนจะถูกกำหนดโดยเงื่อนไขนี้ ยกตัวอย่างเช่น โครงการแลกเปลี่ยนบทเรียนทางไกลซึ่งต่างประเทศได้เตรียมไว้ในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นหากประเทศไทยต้องการเข้าร่วมโครงการนี้ก็จำเป็นต้องปรับบทเรียนให้เป็นแบบอิเลคทรอนิกส์ด้วยเช่นกัน ซึ่งแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ก็จะมีบทบาททั้งการร่วมพัฒนาสื่อใหม่ ๆ เหล่านี้
3. มีการสร้างเครือข่ายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ที่มีความร่วมมือกันมากขึ้น
                มีการสร้างเครือข่ายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ โดยให้ประชาชนทุกคนได้มีโอกาสเข้าถึงความรู้และสามรถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ต่อเนื่องตลอดชีวิต จึงมีการดึงชุมชน ครอบครัว สถาบันและองค์กรต่าง ๆ มาสร้างแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ขึ้น เพื่อจัดกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ในเชิงประสบการ์และพัฒนาชีวิต ตามความต้องการของผู้เรียนเอง ซึ่งแนวความคิดนี้สอดคล้องกับมาตรา 29 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 แม้ว่าปัจจุบันเครือข่ายแหล่งความรู้จะมีบ้างแล้ว เช่น PULINET (A Plan for the Establishment of Provincial University Library Network) เป็นเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค THAILINET M (Thai Academic Library Network Metropolitan) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลาง SCHOOLNET   เป็นเครือข่ายโรงเรียนทั่วประเทศ และ UNINET เป็นเครือข่ายของทบวงมหาวิทยาลัย แต่พบว่าหน้าที่หลักของเครือข่ายดังกล่าวเป็นรูปของส่วนกลางเป็นผู้ให้ กล่าวคือ ส่วนกลางจัดหาข้อมูลแล้วกระจายไปในเครือข่าย ทำให้เกิดภาวะผู้ให้ และผู้รับ ไม่เกิดภาวะการณ์พัฒนาซึ่งกันและกัน และความร่วมมือเป็นไปในแบบทางเดียว ซึ่งความเป็นจริงก็ไม่ใช้สิ่งที่เกิดความคาดหมาย เนื่องจากสมาชิกในแต่ละเครือข่ายดังกล่าว ก็มีความสามารถในอยู่อย่างเอกเทศได้อยู่แล้ว เช่น มหาวิทยาลัยต่าง ๆ หรือโรงเรียนต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียง
4. บทบาทที่แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้จะมีความสำคัญมากขึ้น
1.             การขยายบริการไปสู่รูปแบบของ Virtual Center หรือห้องสมุดในอนาคต
เนื่องจากผลของโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทร ทำให้ประชาชนกลุ่มหนึ่งเข้าสู่อินเตอร์เน็ทได้ ดังนั้นความต้องการใช้งานแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ก็จะต้องพัฒนารูปแบบเป็น Virtual Center เพื่อตอบสนองความต้องการในส่วนนี้ที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต
ห้องสมุดในอนาคตก็ยังคงทำหน้าที่ไม่ต่างจากเดิม คือ เป็นแหล่งบริการข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีพของมวลชน เพียงแต่รูปแบบการบริการที่จะต้องพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามสมัย รูปแบบห้องสมุดในอนาคตได้แก่ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดดิจิตอล ห้องสมุดเสมือน ห้องสมุดอัตโนมัติ ห้องสมุดลูกผสม ซึ่งในปัจจุบันห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library For School Net) ก็เป็นความร่วมมือระหว่างเนคเทค และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำลังร่วมมือพัฒนา และวิทยาลัยดุสิตธานีก็กำลังทำห้องสมุดอัตโนมัติ (Automatic Library)
2.             การมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาและการบริหารการเรียนการสอน
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในประเทศไทยยังมีบทบาทในการพัฒนาและการบริการการเรียนการสอนไม่ชัดเจน แต่เมื่อนโยบายปฏิรูปการศึกษาที่เน้นการศึกษาแบบ child-center และการนำเอาสื่ออิเลคทรอนิกส์มาใช้ทางด้านการศึกษา รวมทั้งแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยที่เน้นการพัฒนา e-learning ทำให้ต้องเกิดการพัฒนาด้านการเรียนการสอนเกิดขึ้นตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปโดยหน่วยงานกลางในสถานศึกษาที่จะต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบงานด้านนี้คือแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
3.             มีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพการใช้ IT
เมื่อแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้พัฒนาไปถึงระดับหนึ่งแล้ว บุคลากรเริ่มมีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากยิ่งขึ้น ก็จะเข้าสู่กระบวนการของการประเมิน ซึ่งจะต้องเป็นแกนหลักในการประเมินคุณภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนำมาปรับปรุงการให้บริการและการจัดการทรัพยากรทาง IT ที่คุ้มค่าต่อไป
5. ส่วนการบริหาร และการจัดการ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพให้มากขึ้น
·       การวางแผน มีการสำรวจความต้องการของผู้ใช้บริการในด้านต่าง ๆ รวมถึงวิเคราะห์ความพร้อมในด้านต่าง ๆ
·       การจัดองค์กร มีการจัดแหล่งการเรียนรู้แยกตามลักษณะของทรัพยากร และจัดระบบให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
·       การจัดบุคลากร ควรกำหนดบทบาท หน้าที่รับผิดชอบ รวมทั้งคัดเลือกคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นคณะกรรมการ
·       การวินิจฉัยสั่งการ ผู้มีอำนาจในการวินิจฉัยสั่งการ ควรคำนึงถึงความสะดวก และความต้องการของผู้ใช้บริการเป็นหลัก
·       การประสานงาน ควรสร้างหลักความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ที่มีต่อการจัดระบบ และเชื่อมโยงแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ระหว่างสถาบัน
·       การรายงาน ควรศึกษาและประเมินบทบาทแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีต่อการจัดการศึกษาของสถาบันอย่างเป็นระบบ ซึ่งเมื่อผู้ใช้บริการสามารถรายงานหรือแจ้งถึงความต้องการ และปัญหาการใช้งานได้ทันที
·       การจัดงบประมาณ มีการแสวงหาความช่วยเหลือด้านการเงิน จากองค์กร หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
6. ส่วนรูปแบบการบริการ
·       ควรจัดหาและผลิตทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในการเรียนรู้
·       จัดเจ้าหน้าที่เพื่ออำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ และแนะนำการใช้งานจากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
·       จัดตารางเวลาในการฝึกอบรมที่เกี่ยวกับวิธีใช้ และการเข้าสู่ระบบเครือข่ายทรัพยากรการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
·       ส่งเสริมและสนับสนุน การแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ จากสถาบันต่างประเทศ
·       จัดเสนอข่าวสาร วิทยาการ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่มีส่วนช่วยในกระบวนการเรียนรู้ในรูปของเอกสารและเครือข่าย








               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น